ในปัจจุบันเราคงปฏิเสธไม่ได้แล้วล่ะครับว่าแพลตฟอร์ม TikTok กำลังมาแรงอย่างมาก และกำลังขึ้นเป็นแพลตฟอร์มโซเชียลที่มีคนใช้มากที่สุดในโลก ฉะนั้นอินฟลูเอนเซอร์หลายเจ้าเริ่มที่จะเข้ามาชิงการตลาดจากแพลตฟอร์มนี้กันมากขึ้น

แต่ใช่ว่าการสร้างคอนเทนต์ลงบนแพลตฟอร์มที่เน้นวิดีโอขนาดสั้นนี้จะทำได้ให้ปังได้ง่ายครับผม เพราะอัลกอรึทึมแพลตฟอร์มนี้เรียกว่าต้องมาศึกษากันชุดใหญ่เพื่อเข้าใจรูปแบบว่าเป็นอย่างไร และวันนี้ G2B จะขอพาทุกท่านไปเรียนรู้ด้วยกัน เพื่อสร้างคอนเทนต์สุดปังใน TikTok ไปด้วยกันครับผม

TikTok

อัลกอริทึม TikTok ทำงานอย่างไร

สำหรับ TikTok หน้าที่สำคัญที่สุดคือ For You หน้านี้จะเป็นหน้าที่ TikTok จะวิเคราะห์ความชอบของ ผู้ใช้แต่ละคนว่า เขาสนใจอะไร กดไลก์ กดคอมเมนต์ หรือเสิร์จอะไรมากที่สุด ข้อมูลเหล่านี้จะถูกวิเคราะห์และส่งคลิปที่ผู้ใช้อาจสนใจมาทางหน้านี้ ซึ่งจากบทความของทาง TikTok มี 3 หัวข้อใหญ่ ๆ ที่อัลกอริทึมจะใช้วิเคราะห์ได้แก่

1. User interactions : TikTok จะนำข้อมูลของผู้ใช้ที่ตอบโต้ในแพลตฟอร์มนี้มาวิเคราะห์เพื่อค้นหาคอนเทนต์ที่ผู้ใช้น่าจะสนใจ ซึ่งจะแบ่งเป็น 8 หัวข้อดังนี้

– Account ที่ติดตาม

– Comment ช่องต่าง ๆ 

– Video ที่กดไลก์หรือแชร์

– Video ที่กด favorites

– Video ที่ดูจบหรือดูวนหลายรอบ

– Account ที่ Hide หรือ Block ไว้

– Video ที่กด not interested

– Video ที่กด report

2.Video Information : สำหรับหัวข้อนี้จะเป็นในส่วนของผู้สร้างคอนเทนต์ครับผม ซึ่งอัลกอรึทึมจะวิเคราะห์คอนเทนต์ที่เราลงเอาไว้ว่าเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร ส่วนนี้จะเข้าไปสอดคล้องกับข้อแรกอย่างชัดเจน ซึ่งอัลกอริทึมจะวิเคราะห์ข้อมูลตามนี้

– Captions

– Sounds (เพลงที่ใช้)

– Hashtags

– Effects 

– Trending topics

3.Device and account settings : อีกหัวข้อหนึ่งที่คนทำคอนเทนต์ต้องทราบ นั่นคืออัลกอริทึมของ TikTok จะเข้ามาวิเคราะห์การตั้งค่าต่าง ๆ ทั้งการตั้งค่าบัญชี รวมไปถึงอุปกรณ์ที่เราใช้ อันนี้จะมีส่วนสำคัญในการแสดงคอนเทนต์กลุ่มตลาดในประเทศที่เราตั้งค่าไว้เป็นหลัง ซึ่งหัวข้อที่อัลกอริทึมนำมาวิเคราะห์ก็คือ 

– การตั้งค่าภาษา

– การตั้งค่าประเทศที่ตั้ง 

– ประเภทอุปกรณ์

– หมวดหมู่ความสนใจ จากการตั้งค่าก่อนใช้งานครั้งแรก

นี่คือข้อมูลทั้งหมดที่ TikTok จะนำมาใช้วิเคราะห์อัลกอริทึมครับ และความดีอย่างหนึ่งของแพลตฟอร์มนี้นั่นคือแม้คุณจะเริ่มต้นสร้างคอนเทนต์ TikTok ก็จะไม่นำยอด Follower ของครีเอเตอร์มาใช้ในการวิเคราะห์นำคลิปขึ้นหน้าฟีด แต่จะใช้ข้อมูลที่เรากล่าวมาทั้งหมดแทน ซึ่งทำให้การเริ่มต้นสร้างคอนเทนต์เป็นไปได้ง่ายขึ้น และมีโอกาสเติบโตได้สูงกว่าแพลตฟอร์มอื่นในตอนนี้ครับ

TikTok

คอนเทนต์ที่อัลกอริทึมไม่นำมาวิเคราะห์

หลังจากที่เราทราบการทำงานของอัลกอริทึม TikTok แล้ว ทีนี้เราก็ต้องมาแจ้งเตือนกันก่อนครับว่า มีบางประเภทคอนเทนต์ที่อัลกอริทึมแพลตฟอร์มนี้จะไม่นำมาใช้วิเคราะห์ข้อมูล นั่นหมายความว่าหากเราอยากให้คอนเทนต์ขึ้นหน้าฟีดผู้ใช้ อาจจะต้องหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้ เพื่อไม่ให้การทำงานเสียเปล่าครับ โดยคอนเทนต์ที่อัลกอริทึมไม่วิเคราะห์มีดังนี้

– Content ที่มีการลงซ้ำ

– Content ที่เคยไถเจอไปแล้วก่อนหน้า

– Content ที่อัลกอริทึมตั้งค่าสถานะเป็น spam หรือ แสดงให้เห็นความรุนแรงมากไป

– Content ที่ขัดต่อกฏชุมชนการใช้ TikTok

ฉะนั้นหากใครที่ต้องการจะทำคอนเทนต์เพื่อให้อัลกอริทึมวิเคราะห์ออกมาได้ดี ต้องหลีกเลี่ยงจาก 4 ข้อหลักอันนี้นะครับ อาจจะยากตรงการผลิตคอนเทนต์อย่างไรเพื่อไม่ให้อัลกอริทึมมองว่าเป็นคอนเทนต์ซ้ำ ตรงนี้นอกจากเนื้อหาแล้วจะร่วมไปถึงการตั้งชื่อ แฮชแท็กด้วย ต้องระวัง

เท่านี้ก็พอมองออกถึงรูปแบบการทำงานอัลกอริทึมของ TikTok ได้มากขึ้นแล้วใช่ไหมครับ หลักการเหล่านี้มีส่วนช่วยให้คอนเทนต์ที่สร้างขึ้นมาปัง เพียงแค่คุณต้องวิเคราะห์กลุ่มตลาดที่ต้องการจะจับ, สร้างสรรค์คอนเทนต์ที่ตอบโจทย์ รวมถึงการใส่รายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทาง G2B มีบริการในส่วนช่วยเหลือการสร้างคอนเทนต์ใน TikTok อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ธุรกิจของคุณไปต่อได้ในโลกยุคปัจจุบัน สนใจคลิกมาได้เลยนะครับ

สามารถติดตามเรื่องราวของ G2B ได้ที่ Facebook ของบริษัท

inquiry form